อาคารกิติยาคาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1. หอประชุมกิติยาคารขนาด 3,500 ที่นั่ง


ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการจัดงานพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งในการพระราชทานปริญญาบัตรนั้น ทางสำนักพระราชวังไม่ต้องการให้มีอุปกรณ์ต่างๆแขวนเหนืออยู่บนที่ประทับ ทำให้การออกแบบหอประชุม 3,500 ที่นั่งนั้น ต้องถูกพิจารณาในการออกแบบระบบโสตทัศนูปกรณ์เป็นพิเศษ เพราะนั่นหมายความว่าเพดานด้านบนเวที ต้องถูกทำให้เป็นพื้นที่ปิดสนิท แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ระบบ AV ในบริเวณนั้น เนื่องจากหอประชุมต้องการใช้งานอุปกรณ์ให้เพียงพอที่จะรองรับฟังก์ชั่นอื่นๆ นอกจากงานพระราชทานปริญญาบัตร วิธีแก้ปัญหาคือ การสร้างระบบ Rigging พิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่ปิดที่ปิดสนิท ระบบ Rigging ที่นำมาใช้ต้องมีขนาดยาวตามหน้ากว้างของเวทีถึง 40 เมตร และในแต่ละแท่งต้องสามารถรับน้ำหนักของอุปกรณ์ระบบ AV ได้อย่างน้อย 2 ตัน ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายและอุปกรณ์ระบบ Rigging ที่ผลิตในท้องถิ่นที่ได้รับการคัดเลือกมานี้ มีความหลากหลายสามารถรับน้ำหนักอุปกรณ์ทั้งหมดได้เพียงพอ (สามารถรับน้ำหนักม่าน ดวงโคม ไฟเวที อุปกรณ์ประกอบฉากบนเวที และจอรับภาพ)
สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในการติดตั้งอีกประการหนึ่งคือขนาดของหอประชุม โดยปกติแล้วหอประชุมในประเทศไทยจะรองรับผู้คนได้ประมาณ 2,000 คนในขณะที่หอประชุมกิตติยาคารรองรับได้ถึง 3,500 คน โดยมีเวทีหน้ากว้างถึง 40 เมตร ซึ่งใหญ่กว่าหอประชุมอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด ประกอบกับการพื้นที่ใช้งานก่อนหน้านี้เป็นโรงยิม ทำให้เกิดความท้าทายในการติดตั้งระบบ AV โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเสียงก้อง ความท้าทายของขนาดเวที และข้อจำกัดของเพดาน ยังทำให้เกิดความยากลำบากในการออกแบบเสียงและการเลือกลำโพง บริษัทฯต้องร่วมมือกับที่ปรึกษาโครงในการบูรณาการออกแบบระบบ AV และอะคูสติกเข้าด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าที่นั่งทั้งหมด 3,500 ที่นั่งจะได้รับเสียงที่ดีอย่างครอบคลุมเสียงและมีความชัดเจน ในขณะเดียวกันก็ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกเช่นเดียวกับการลดเสียงสะท้อน ภายในห้องโถง บริษัทฯ ได้ติดตั้ง LED Wall ขนาดใหญ่ขนาด 24.3 x 7.5 เมตร สัญญาณเสียงและวิดีโอจะกระจายไปทั่วทั้งอาคารโดยใช้โปรโตคอล AV-over-IP แบบส่งสัญญาณผ่าน Network ไม่เพียงแต่ภายในหอประชุมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งสัญญาณไปยังห้องแต่งตัว พื้นที่ด้านหลังเวที สื่อประชาสัมพันธ์พื้นที่หน้าทางเข้า ห้องที่ประทับ และไปยังห้องประชุม 200 ที่นั่ง AV-over-IP Network นี้ยังช่วยให้มั่นใจได้ว่าการขยายสัญญาณระบบ AV ในอนาคตสามารถทำได้อย่างง่ายดาย

 

2. Concert Hall ขนาด 200 ที่นั่ง


ออกแบบให้ใช้สำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่มาใช้งานสำหรับซ้อมดนตรี หรือเล่นคอนเสริ์ตขนาดย่อม จุดเด่นหลักของห้องโถงนี้คือ สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเปิดระบบ AV เพราะได้รับการออกแบบให้เป็น Acoustic Hall ซึ่งนักแสดงสามารถร้องเพลง และเล่นเครื่องดนตรีกับผู้ชมได้ 200 คน โดยไม่ต้องเปิดใช้งานระบบเสียง อย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบ AV เต็มรูปแบบ (Audio, Visual, Lighting) นั้นทำให้การใช้งานภายในพื้นที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพราะสามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายทำให้ห้องโถงสามารถรองรับเทคโนโลยี MICE ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน

3. Blackbox Theatre ขนาด 240 ที่นั่ง


ยังเป็นอีกหนึ่งพื้นที่สำคัญและหลากหลายสำหรับการใช้งานของคณะศิลปศาสตร์ ที่นี่มีการติดตั้งระบบ AV (Audio, Visual, Lighting) และพื้นที่นี้จะต้องสามารถจับภาพจินตนาการและการสร้างการแสดงของนักศึกษาได้ทั้งหมด ในขณะที่พื้นที่นี้ตอบสนองความต้องการของการใช้งานภายในมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังสามารถเช่าสำหรับฟังก์ชั่น MICE ได้เช่นกัน

โดยสรุป ระบบ AV ที่ติดตั้งภายในอาคารกิติยาคาร ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองทุกความต้องการของทางมหาวิทยาลัยทั้งการสร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลักคือการจัดงานพระราชทานปริญญาบัตรซึ่งได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานการอนุมัติจากสำนักพระราชวัง รวมไปถึงรองรับการเรียนการสอนของนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ห้องโถงและพื้นที่จัดงานทั้งหมดได้รับการออกแบบให้ใช้งานได้หลากหลายเพียงพอสำหรับจัดงานสำหรับกิจกรรมขนาดใหญ่ประเภทต่างๆรวมถึงอุตสาหกรรม MICE ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เป็นอย่างดี

รูปภาพ


 

เทคโนโลยี


  • AMX
  • AUDIO-TECHNICA
  • BIAMP
  • BRIGHTSIGN
  • DA-LITE
  • IMAGSYSTEM
  • LUMENS
  • MIDAS
  • MP STAR
  • PHILIPS STRAND
  • HELVAR
  • QSC
  • RENKUS-HEINZ
  • ROBE
  • WOLFVISION